วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

อยากรู้ : การ Optimize สูตรการผลิตอาหารสัตว์ โดยมีกำไรสูงสุด (3)

อยากรู้ :  การ Optimize สูตรการผลิตอาหารสัตว์ โดยมีกำไรสูงสุด (2)
Series :  Easy Production - Thailand 4.0

เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้น เพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้

---------------------------------------------------------------------------

การ optimize จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการวางรูปแบบที่เรียกว่า โมเดล  (Model)  ในแต่ละโมเดล ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- Objective คือ วัตถุประสงค์ในการทำ optimize มีหลักการทำงาน 2 แบบใหญ๋ๆ คือ
  1.เพื่อให้ได้ค่าสูงสุด ในที่นี้ เช่นต้องการให้ได้กำไรมากที่สุด
  2.เพื่อให้ได้ค่าต่ำสุด เช่น ต้องการให้เกิดต้นทุนต่ำสุด
- Variable คือ ตัวแปรที่ต้องการให้ระบบหาคำตอบให้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
- Constraint คือ ข้อจำกัดของเงื่อนไขที่ใช้ในแต่ละโมเดล

---------------------------------------------------------------------------         

ตัวอย่างการ optimize สูตรผลิตอาหารสัตว์ ให้มีกำไรมากที่สุด

เจ้าของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ต้องการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการค้าสูงสุด โดยมีเงื่อนไขทางด้านของราคาขายของสินค้า, ราคาต้นทุนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต,  stock ของวัตถุดิบที่มีอยู่ และเปอร์เซนต์การใช้วัตถุดิบของสินค้าแต่ละชนิด ที่มีการกำหนดขอบเขตเป็นช่วง

ข้อมูลมีดังนี้

มีวัตถุดิบ 3 ชนิด ที่ใช้ในการผลิตอาหารสำเร็จรูป 2 ชนิด

• ราคาต่อหน่วยของวัตถุดิบแต่ละชนิด
ปลาป่น (R1)        2.5 บาท / กิโลกรัม
มันเส้น (R2)              2.6 บาท / กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง (R3)      2.84 บาท / กิโลกรัม

• ราคาขายของสินค้า 2 ชนิด ที่ใช้วัตถุดิบร่วมกัน
      สินค้า A       2.9 บาท / กิโลกรัม
    สินค้า B       3 บาท / กิโลกรัม

• Stock ของวัตถุดิบ ณ เวลาปัจจุบัน
ปลาป่น (R1)  5000 กิโลกรัม
มันเส้น (R2)  10000 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง (R3)  10000 กิโลกรัม

• สินค้า A ต้องการสัดส่วนของวัตถุดิบแต่ละชนิด ดังนี้
20% < ปลาป่น (R1) < 30%
40% < มันเส้น (R2) < 50%
10% < กากถั่วเหลือง (R3) < 20%

•สินค้า B ต้องการสัดส่วนของวัตถุดิบแต่ละชนิด ดังนี้
25% < ปลาป่น (R1) < 40%
30% < มันเส้น (R2) < 45%
30% < กากถั่วเหลือง (R3) < 40%

• ต้องผลิตสินค้า A ไม่ต่ำกว่า 10000 กิโลกรัม

จากข้อมูลดังกล่าว เจ้าของโรงงาน ต้องคิดหาโมเดลมาจำลองข้อมูลเพื่อให้ได้สูตรอาหารตามเงื่อนไขมาตรฐานการผลิต โดยมีกำไรมากสุด


ผู้สนใจ ศึกษาการทำงานเบื้องต้นจากไฟล์ประกอบ

--------------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น