วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อยากรู้ : ราคาต้นทุนวัตถุดิบ จากการสั่งซื้อ

อยากรู้ : ราคาต้นทุนวัตถุดิบ จากการสั่งซื้อ

Series : Easy Production - Thailand 4.0

เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้นเพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้

ในระบบผลิต เมื่อเกิดการเบิกใช้วัตถุดิบ จะมีคำถามว่า ณ. เวลาที่เบิกใช้นั้น วัตถุดิบมีราคาเท่าใด

ในบทความนี้ จึงกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีผลต่อราคาวัตถุดิบ ณ ช่วงเวลาต่างๆ

สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบนั้น ประกอบด้วย
- หน่วยงานจัดซื้อ ทำหน้าที่ออกใบสั่งซื้อ  (Purchase Order) โดยกำหนดราคาตามที่ตกลงกับ vendor
- หน่วยงาน store ทำหน้าที่รับวัตถุดิบจาก vendor เข้าเป็น stock พร้อมเบิกไปใช้งาน
- หน่วยงานบัญชี ทำหน้าที่รับ invoice จาก vendor สำหรับตั้งหนี้

----------------------------------------------------------------------------------------

รายละเอียด โปรดดูตาม clip video ในบทความนี้ครับ

----------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับผู้ที่สนใจบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อยากรู้ : จุดสั่งซื้อ ภาคบรรยาย


อยากรู้ : จุดสั่งซื้อ ภาคบรรยาย

Series : Easy Production - Thailand 4.0

เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้นเพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้
จากการที่ได้ประชุมกับฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายดูแลคลังสินค้า มักจะพบปัญหา ที่พนักงานไม่สามารถดูแลวัสดุทุกชิ้นได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการบริหารวัสดุไม่พอดีกับการใช้งาน ฝ่ายจัดซื้อ ซื้อทีละมากๆ ก็กลัวเหลือค้างในคลัง หรือถ้าซื้อน้อย ก็เกรงว่าจะไม่พอใช้งาน

ในบทความนี้ ขอเสนอวิธีการบริหารวัสดุให้มีความพอดี และลดเวลาการดูแลวัสดุแต่ละตัว โดยใช้กลไกการตรวจสอบข้อมูล ผ่านพารามิเตอร์ที่เรียกว่า Reorder Point

----------------------------------------------------------------------------------------

Reorder point คือ จุดสั่งซื้อ โดยเมื่อผู้ใช้งาน สั่งระบบทำงาน โปรแกรมจะตรวจสอบว่า stock ปัจจุบันของวัสดุ เทียบกับ Reorder Point ของวัสดุ ที่มีการกำหนดไว้ เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ถ้า Stock >= Reorder Point ก็ยังไม่ต้องสั่งซื้อใดๆ
- ถ้า Stock < Reorder Point ระบบจะทำการสร้างแผนสั่งซื้อ โดยคำนวณวันที่เริ่มต้นออกแผนสั่งซื้อ และคำนวณวันที่ได้รับจากการสั่งซื้อ

รายละเอียด โปรดดูตาม clip video ในบทความนี้ครับ

----------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับผู้ที่สนใจบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com






วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อยากรู้ : ใบสั่งผลิต ภาคบรรยาย

อยากรู้ :  ใบสั่งผลิต ภาคบรรยาย
Series :  Easy Production - Thailand 4.0
เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้น เพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้ 

การผลิตโดยอ้างใบสั่งผลิต มีวัตถุประสงค์หลัก คือต้องการเก็บข้อมูลต่อใบสั่งผลิต เช่น เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการผลิต, จำนวน yield และ scrap ของการผลิต,  ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อใบสั่งผลิต ในที่นี้กล่าวถึงเฉพาะต้นทุนหลักๆ ได้แก่ ค่าวัตถุดิบและค่ากิจกรรมที่เกิดจากเครื่องจักรหรือกำลังคน

----------------------------------------------------------------------------------------------

วงจรชีวิตของใบสั่งผลิตแต่ละใบ ถูกกำหนดตามสถานะในช่วงเวลาที่ผ่านไป มีลำดับดังนี้

- สถานะ Created คือสถานเริ่มต้น เมื่อเริ่มสร้างใบสั่งผลิตขึ้นมา

- สถานะ Released คือสถานะที่ผ่านการตรวจสอบความพร้อมของวัตถุดิบและกำลังการผลิตแล้ว และพร้อมส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตจริง

- สถานะ Withdrawal (Goods issue) คือสถานะที่มีการเบิกวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการผลิตแล้ว ทำให้เกิดต้นทุนที่ใช้ในการผลิต

- สถานะ Confirmed คือสถานะที่มีการบันทึกเวลาที่ใช้ในการผลิตที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ เกิดเป็นต้นทุนการผลิตเช่นกัน รวมถึงมีการบันทึกค่า yield และ scrap ที่เกิดขึ้น

- สถานะ Delivered (Godos receipt) คือสถานะที่มีการรับสินค้าที่เกิดจากการผลิต

- สถานะ Technical completed คือสถานะที่ผู้ที่ทำการผลิตแจ้งให้หน่วยงานอื่นรับรู้ว่า ใบสั่งผลิตนี้ได้เสร็จสิ้นการผลิตแล้ว ซึ่งมีผลกับระบบคือ ระบบจะปลดปล่อยการจองวัตถุดิบที่ยังไม่ได้ใช้ รวมถึงปลดปล่อยกำลังการผลิตที่จองไว้แต่ยังไม่ได้ใช้เช่นกัน

- สถานะ Closed คือสถานะที่ทำการปิดใบสั่งผลิตอย่างถาวร ไม่ให้มีการนำใบสั่งผลิตนี้ไปบันทึกเพิ่มเติมได้อีก

-----------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับผู้ที่สนใจบทความนี้ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com