วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

อยากรู้ : การพยากรณ์ข้อมูล (Business Forecasting)

อยากรู้ :  การพยากรณ์ข้อมูล (Business Forecasting)
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในการวางแผนการทำกิจกรรมใดๆ หากผู้วางแผนสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ย่อมเป็น

ผลดีต่อองค์กรนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนยอดขาย (Demand Planning) หรือยอดผลิตปีหน้า (Supply Planning) เมื่อนำเข้าไปสู่ระบบ supply

chain จะมีผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เนื่องจากยอดพยากรณ์เหล่านี้ จะถูกนำไปคำนวณผ่านระบบ MRP หรือระบบ Optimization ต่างๆ

เพื่อหาค่าการผลิตที่เหมาะสมของแต่ละสายการผลิต รวมถึงวัตถุดิบที่ต้องการ

-------------------------------------------------------------------------------------------

ดังนั้นหากข้อมูลพยากรณ์ยอดขาย หรือ ยอดผลิต ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะมีผลอย่างมากต่อธุรกิจนั้นๆ
เช่น หากพยากรณ์ต่ำไป ก็จะทำให้สูญเสียโอกาสทางการขาย
      หรือหากพยากรณ์สูงไป ก็จะทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บสินค้าและวัตถุดิบที่ไม่จำเป็น

------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้พยากรณ์ (Demand Planner) ต้องเป็นผู้เลือกโมเดลในการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับแต่ละสินค้า โดยมีตัววัดที่เหมาะสม

----------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาในบทนี้ จะเน้นไปที่วัตถุประสงค์ของการเลือกโมเดลการพยากรณ์ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------

สำหรับในบทถัดๆ ไป จะเจาะลึกการทำงานแต่ละโมเดล

================================================

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่ต้องการนำไปใช้งานต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
 Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต