วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

องค์ประกอบวัตถุดิบในอาหาร ตามโภชนาการที่กำหนด คำนวณอย่างไร

องค์ประกอบวัตถุดิบในอาหาร ตามโภชนาการที่กำหนด คำนวณอย่างไร
Series : Easy Production - Thailand 4.0

บทความนี้ กล่าวถึงการคำนวณส่วนผสมของวัตถุดิบในอาหาร
โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ต้องได้คุณค่าทางโภชนาการ ตามข้อกำหนดที่ต้องการ
โดยมีต้นทุนรวมของวัตถุดิบต่ำสุด
จากนั้นทดสอบเพิ่มเป้าหมายรองลงมา ตามความต้องการ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบจำลองส่วนผสมของอาหารประเภท Granola ประกอบด้วยส่วนผสมของ ข้าวโอ๊ต คอนเฟลก ลูกเกด อัลมอนด์ มะพร้าว
- เป้าหมายหลัก ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการ
- เป้าหมายรอง คือ จำนวนของส่วนผสมวัตถุดิบ
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รายละเอียดการจำลองแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
- ขั้นตอนที่ 1  ให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ ไม่น้อยกว่าที่ต้องการ
- ขั้นตอนที่ 2  กำหนดค่ามากสุดของคุณค่าทางโภชนาการ ตามความจำเป็น
- ขั้นตอนที่ 3  เพิ่มขอบเขตล่าง สำหรับน้ำหนักของแต่ละวัตถุดิบ
- ขั้นตอนที่ 4 เพิ่มขอบเขตบน สำหรับน้ำหนักของแต่ละวัตถุิบ
ทั้งนี้ในการคำนวณแต่ละขั้นตอน ยังคงมีจุดประสงค์ ที่ต้องการให้ได้ต้นทุนต่ำสุด

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ อาจเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ประกอบการพิจารณาต่อไป หวังว่าคงได้ประโยชน์บ้าง
สำหรับผู้ที่สนใจบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต


วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

Optimum lot size

ซื้อจำนวนเท่าไร ถึงจะลดต้นทุนได้มากที่สุด
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในบทความนี้ กล่าวถึงวิธีการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยสุด
เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายจัดซื้อ และบุคคลทั่วไปที่สนใจวิธีควบคุมต้นทุนการสั่งซื้อ ได้นำไปประยุกต์ใช้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในระบบ supply chain นั้น กรณีของการผลิตสินค้าที่เหมือนกัน ปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก
การตั้งราคาขายไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ
ดังนั้นการควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ จึงอาจเป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้บริษัท มีผลกำไรที่แตกต่างจากผู้อื่นได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ จึงตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดซื้อที่จะต้องทำการต่อรองกับ supplier หรือ vendor เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
คำว่าราคาดีที่สุด ไม่ได้หมายถึงราคาถูกที่สุด แต่เป็นความหมายรวมถึง คุณภาพ ความรวดเร็วในการส่งมอบจำนวนที่มีให้ เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับในบทความนี้ เป็นการนำตัวอย่างวิธีการพิจารณาขนาด lot size ในการสั่งซื้อในแต่ละรอบ
โดยมีองค์ประกอบในการพิจารณาดังต่อไปนี้
- ประมาณการจำนวนวัตถุดิบที่ต้องการต่อปี
   ส่วนนี้ อาจได้มาจากการ run MRP และได้ตัวเลขประมาณการความต้องการทั้่งปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
   Demand ของวัตถุดิบ
- ค่าใช้จ่ายในการจัดการสั่งซื้อแต่ละครั้ง โดยไม่เกี่ยวกับค่าวัตถุดิบ เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกเอกสาร
    และจัดส่ง PO เป็นต้น
   ค่าใช้จ่ายลักษณะนี้ เป็น fix cost ที่ต้องเสียไป ในการสั่งซื้อแต่ละรอบ
   มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Lot size independent cost
- ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ (Storage cost) คิดเป็น % ของราคาของวัตถุดิบ
- ราคาวัตถุดิบ (Pricing condition) โดยอาจมีเงื่อนไขพิเศษ ที่เรียกว่า Pricing scale หมายถึง ซื้อยิ่งมาก
   ยิ่งมีส่วนลดมาก

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อได้พารามิเตอร์ในการพิจารณาครบถ้วนแล้ว เราก็นำข้อมูลเหล่านั้นไปคำนวณหาขนาดของการสั่งซื้อ ในแต่ละครั้ง เพื่อให้ผลรวมของค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

โดยค่าใช้จ่ายรวม = ค่าจัดการการสั่งซื้อ + ค่าจัดเก็บตลอดทั้งปี + ค่าวัตถุดิบ
สำหรับการคำนวณ จะแสดงใช้ Micorsoft Excel ที่เป็น tool ที่มีใช้อยู่ทั่วไป 
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจพอสมควร
สำหรับบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต