วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อยากรู้ : การวางแผนผลิตโดยใช้วิธี Optimize

อยากรู้ : การวางแผนผลิตโดยใช้วิธี Optimize
Series :  Easy Production - Thailand 4.0
เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้น เพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้

การ optimize คืออะไร คำตอบง่ายๆ คือ การจัดการสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมที่สุด ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น มีเงินอยู่ 100 บาท ถ้าต้องการซื้ออาหารมื้อเช้า ควรจะเลือกทานอะไรดี  ระหว่าง ข้าวแกงและเครื่องดื่ม กับ เบอร์เกอร์และเครื่องดื่ม
        ตัวอย่างด้านบน เราอาจสามารถบอกได้ทันทีว่า น่าจะเลือกอย่างแรก แต่ถ้าเป็นโจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนกว่านี้ การหาคำตอบก็จะยากขึ้น  สำหรับในระบบการผลิต โรงงานต่างๆ มักพบปัญหา เช่น
- การผลิตสินค้าแต่ละครั้ง ต้องใช้วัตถุดิบในการ setup สูง ดังนั้นถ้าในวันหนึ่งๆ มีการผลิตโดยที่มีการเปลี่ยนโมเดลสินค้าหลายรายการ เมื่อสิ้นสุดการผลิตในแต่ละวัน ทางโรงงานจะพบเศษวัตถุดิบมาก แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนโมเดลสินค้า ก็จะเกิดปัญหาด้านการผลิตไม่เหมาะสมกับความต้องการใช้ ดังนั้นปัญหานี้ คือ ต้องการลดเศษวัสดุให้เหลือน้อยที่สุด โดยรองรับการนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
- เมื่อวางแผนผลิตแล้ว พบว่า มีกำลังการผลิตเหลือ ผู้วางแผนต้องการนำสินค้าอื่นๆ มาผลิตเสริม เพื่อให้เกิดการใช้กำลังการผลิตที่คุ้มค่าที่สุด แต่เนื่องจากสินค้ามีหลายรายการมาก ผู้วางแผนจึงมีความลำบากในการเลือก ทำอย่างไรจึงจะถือว่าเหมาะสม
- แผนผลิตในแต่ละวันมีมากมาย และต้องผ่านการทำงานหลายขั้นตอน ที่ใช้เครื่องจักรร่วมกัน ทำอย่างไร จึงจะใช้เวลารวมทั้งหมดให้สั้นที่สุด โดยมีเงื่อนไขหลัก คือต้องไม่ให้เกิดการผลิตที่เครื่องจักรเดียวกัน ในเวลาเดียวกันของแผนผลิตต่างๆ

ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น อาจใช้แนวทางการ optimize เพื่อช่วยทุ่นเวลาในการค้นหาคำตอบได้ 

-------------------------------------------------------------------------------------------

การ optimize จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการวางรูปแบบที่เรียกว่า โมเดล  (Model)  ในแต่ละโมเดล ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- Objective คือ วัตถุประสงค์ในการทำ optimize มีหลักการทำงาน 2 แบบใหญ๋ๆ คือ
    1.เพื่อให้ได้ค่าสูงสุด ในที่นี้ เช่นต้องการให้ได้กำไรมากที่สุด
    2.เพื่อให้ได้ค่าต่ำสุด เช่น ต้องการให้เกิดต้นทุนต่ำสุด
- Variable คือ ตัวแปรที่ต้องการให้ระบบหาคำตอบให้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
- Constraint คือ ข้อจำกัดของเงื่อนไขที่ใช้ในแต่ละโมเดล

ปัญหาของการ optimize อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ปัญหา linear มีลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปรและวัตถุประสงค์ เป็นสัดส่วนแบบเส้นตรง
- ปัญหา non-linear มีลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปรและวัตถุประสงค์ ไม่เป็นสัดส่วนแบบเส้นตรง อาจเป็นแบบพาราโบล่า หรืออื่นๆได้
- ปัญหาแบบอื่นๆ นอกเหนือจาก 2 แบบข้างต้น

การแก้ปัญหา อาจให้ซอพแวร์ทำการเลือกวิธีให้ และผู้ใช้งานพิจารณาผลลัพธ์

 ---------------------------------------------------------------------------------------------           

ตัวอย่าง โมเดลของการผลิต เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรายการสินค้าผลิต ให้น้อยสุด โดยยังคงใช้กำลังการผลิต และต้องรองรับความต้องการสินค้า ภายในข้อกำหนด องค์ประกอบของโมเดลนี้ ประกอบด้วย
- Objective คือ เพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายต่ำสุด ในที่นี้คือภาพรวมของต้นทุนในการเปลี่ยนรายการสินค้า และค่าใช้จ่ายของเวลาที่ใช้เกินกำลังการผลิตที่มีให้ เมื่อรวมกันแล้ว ต้องการให้มีค่าต่ำสุด
- Variable คือ ตัวแปรที่ต้องการให้ระบบหาคำตอบให้ ในที่นี้คือจำนวนรายการสินค้า และจำนวนสินค้าที่ต้องทำการผลิตในแต่ละวัน
- Constraint คือ ข้อจำกัดของ resource ในที่นี้คือ กำลังการผลิตที่มีให้ในแต่ละวัน

ลองศึกษาการทำงานเบื้องต้นจากวิดีโอประกอบ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น