อยากรู้ : กลยุทธ์ในการวางแผนผลิต
Series : Easy Production - Thailand 4.0
เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้น เพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้
ในอุตสาหกรรมการผลิต สิ่งแรกที่ต้องทำคือ กำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนผลิตสินค้า (Strategy) เพราะการทำงานใดๆ ก็ตาม หากไร้ซึ่งการวางแผนแล้ว อาจทำให้พบอุปสรรคหรือปัญหาตามมา เช่น หากปล่อยให้โรงงานทำการผลิตแบบไม่มีแผนอะไรอยู่ในมือเลย คนงานที่ผลิต จะทำการผลิตเฉพาะสิ่งที่ตัวเองคาดเดา ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการจากลูกค้าได้อย่างพอดี
สิ่งที่ตามมาคือการเสียโอกาสทางธุรกิจ
ดังนั้นในบทความนี้ จะทำการอธิบายแบบง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพการวางแผนการผลิต
การวางแผนการผลิต โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ
@ Make to Stock
@ Make to Oorder
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.Make to Stock (MTS) หมายถึง การผลิตโดยอ้าง Sales forecast หรือ Sales order โดยเมื่อผลิตเสร็จแล้ว ทำการเก็บเป็น stock ส่วนกลาง และอนุญาตให้ sales admin ทุกคน สามารถหยิบไปขายได้
สำหรับการวางแผนแบบ Make to Stock แบ่งเป็นกลุ่มย่อยลงอีก ดังต่อไปนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.1 MTS แบบอ้าง Sales forecast ของสินค้าเท่านั้น
การวางแผนลักษณะนี้ คือ ผู้วางแผนต้องการให้ระบบสร้างแผนการผลิตเพื่อตอบสนองต่อ Sales forecast เท่านั้น
และไม่พิจารณา Sales order จริงที่เกิดขึ้น ดังนั้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาจสรุปได้ดังนี้
ถ้า Sales order > Sales forecast : ทำให้ขายสินค้าไม่พอ
ถ้า Sales order < Sales forecast : ทำให้เหลือสินค้าค้าง Stock
ข้อดีวิธีนี้ คือ กลุ่มผู้วางแผนสามารถจัดเรียงแผนการผลิตล่วงหน้าได้ (Smooth production line)
โดยไม่ได้รับผลกระทบจาก Sales order ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมา
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.2 MTS แบบอ้าง Sales forecast และ Sales order ของสินค้า
การวางแผนลักษณะนี้ โดยปกติจะทำการวาง sales forecast ก่อน เพื่อนำไปให้ระบบสร้างแผนการผลิตรองรับ จากนั้นเมื่อมี Sales order เกิดขึ้นภายหลัง ระบบจะทำการตรวจสอบว่ามี Sales forecast รองรับเพียงพอหรือไม่ สรุปได้ดังนี้
ถ้า Sales order > Sales forecast : ระบบเปิดแผนผลิตเพิ่มขึ้นได้เอง
ถ้า Sales order < Sales forecast : ทำให้เหลือสินค้าค้าง Stock
ข้อดีวิธีนี้ คือ ระบบจะปรับแผนผลิตสินค้า เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ เพื่อรองรับความต้องการที่มากเกินกว่าสิ่งที่ประมาณการไว้
ข้อเสียวิธีนี้ คือ แผนการผลิตที่จัดเรียงล่วงหน้าไว้ จะถูกแทรก หรือ เกิดการ overload
ทำให้ผู้วางแผนต้องคอยทำการปรับ line การผลิต เพื่อจัดการแผนการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาเองจากระบบ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.3 MTS แบบอ้าง Sales forecast ของ Sub-Assembly
การวางแผนลักษณะนี้ ทำที่ระดับ sub-assembly ที่ถูกใช้ร่วมกัน สำหรับนำไปผลิตต่อในสินค้าที่คล้ายกัน อาจเรียกสินค้าว่า มี Variant เช่น รถยนต์คนละสี แต่ใช้เครื่องยนต์เดียวกัน ซึ่งผู้วางแผนไม่มีข้อมูลว่าจะขายรถยนต์สีอะไร แต่รู้ว่าโดยภาพรวมว่าต้องขายในระดับขนาดเครื่อง 2400 CC จำนวน 1000 คันเป็นต้น ซึ่งตัวเครื่องขนาด 2400 CC จะถูกนำไปสร้าง Sales forecast เพื่อสั่งผลิตล่วงหน้า
ลำดับถัดมา เมื่อมีการสร้าง Sales order สินค้า ไม่ว่าจะเป็นรถสีอะไรก็ตาม จำนวนใน Sales order จะไปลดจำนวน Sales forecast ของตัวเครื่องโดยอ้ตโนมัติ
ถ้า Sales order สินค้า > Sales forecast ตัวเครื่อง : ระบบเปิดแผนผลิตตัวเครื่องเพิ่มขึ้นได้เอง
ถ้า Sales order < Sales forecast : ทำให้เหลือตัวเครื่องค้าง Stock
ข้อดีวิธีนี้ คือ ระบบจะปรับแผนเพิ่มอัตโนมัติ เพื่อรองรับความต้องการที่มากเกินกว่าสิ่งที่ประมาณการไว้
ข้อเสียวิธีนี้ คือ กลุ่มผู้วางแผนที่จัดเรียงแผนการผลิตล่วงหน้าไว้ ต้องคอยทำการปรับ line การผลิต เพื่อจัดการแผนการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาเองจากระบบ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. Make to Order (MTO) หมายถึง การผลิตโดยอ้าง Sales order เท่านั้น โดยเมื่อผลิตเสร็จ จะทำการเก็บเป็น stock ที่ผูกติดกับ Sales order ที่ถูกอ้างเท่านั้น ไม่สามารถหยิบไปขายให้กับลูกค้าอื่นๆ ได้
การวางแผนแบบนี้ เหมาะกับสินค้าที่มีมูลค่าสูงๆ โดยปกติในการ implement มักจะพบไม่บ่อยนัก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับผู้ที่สนใจบทความนี้ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น