อยากรู้ : Kanban คืออะไร (2)
Series : Easy Production - Thailand 4.0
เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้น เพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน
เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้
จากบทความที่แล้ว
ได้อธิบายถึงกระบวนการทำงานในระบบ Kanban สำหรับบทความนี้จะได้กล่าวถึงวิธีการในการคำนวณในแต่ละจุดการผลิต
ควรมีจำนวน Kanban
เท่าใด หรือ แต่ละ Kanban ควรมีกี่ชิ้น
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นวิธีการคำนวณ
โดยใช้ตัวอย่างเพียง 1 รายการสินค้าในการวางแผน
แบ่งออกเป็นขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. เริ่มจาก กำหนดให้นำ Sales
forecast มาใช้งาน ในตัวอย่างนี้ใช้ข้อมูล 3 สัปดาห์ข้างหน้า
โดยแต่ละสัปดาห์มีความต้องการ 10000 ชิ้น
ขั้นตอนที่ 2. ทำการคำนวณการนำไปใช้เฉลี่ยต่อช่วงเวลา
(Average consumption : AC) โดยมีเงื่อนการทำงาน คือ 1 สัปดาห์ทำงาน 5 วัน และแต่ละวันทำงาน 8 ชั่วโมง แบ่งการคำนวณเป็น 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 คำนวณการใช้งานเฉลี่ยต่อชั่วโมง
Hour
base = 30000 / (3w * 5d * 8h)
= 250 PC/Hr
ชนิดที่ 2 คำนวณการใช้เฉลี่ยต่อวัน
Day
base = 30000 / (3w * 5d)
= 2000 PC/Day
ขั้นตอนที่ 3. คำนวณจำนวน Kanban หรือ จำนวนในแต่ละ Kanban
ในขั้นตอนนี้ ขึ้นกับผู้ออกแบบและผู้ใช้งานว่า
ต้องการให้ยึดสิ่งใดเป็นหลักในการคำนวณ เนื่องจากว่าการคำนวณ
จะต้องกำหนดค่าตายตัวเบื้องต้น 1 ค่าเสมอ
ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบต้องกำหนดค่าการเติมเต็มในกรณีที่จำนวนในถาด Kanban
ว่างลง ค่าดังกล่าวเรียกว่า Replenishment Leadtime (RT) ซึ่งหมายถึง เวลาที่ใช้ในการผลิต
หรือเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อ เป็นต้น
โดยสมมุติว่า เป็น Kanban สำหรับการผลิต และมี leadtime ในการผลิต 2 ชั่วโมง การคำนวณแบ่งเป็น 2 แบบ
แบบที่ 1 ยึดจำนวน
Kanban เป็นหลัก เพื่อหาค่าจำนวนต่อ Kanban ตามสูตรด้านล่าง โดย กำหนดให้มี 5 Kanban
Qty
= RT * AC / NK
แทนค่าลงไปตามสูตร Qty
= 2 * 250 / 5
ผลลัพธ์ Qty ต่อ Kanban =100 Pc
หรือแบบที่ 2 ที่ยึดจำนวนต่อ Kanban เป็นหลัก ก็สามารถหาค่าจำนวน Kanban
ได้ ตามสูตรด้านล่าง โดยกำหนดให้แต่ละ Kanban มีจำนวน
100 Pc
NK
= (AC * RT / Qty) + 1(option)
แทนค่าลงไปตามสูตร NK = 250 * 2 / 100
ผลลัพธ์ จำนวน Kanban ที่ต้องเตรียมไว้
= 5 Kanban
จะเห็นว่า ผู้ออกแบบระบบ Kanban สามารถที่จะเลือกวิธีการคำนวณได้ตามความสะดวก ทำให้ออกแบบแต่ละกระบวนการได้อย่างอิสระ
เช่น กระบวนการผลิตที่ 1 อาจยึดจำนวน Kanban เป็นหลัก ในขณะที่กระบวนการผลิตที่ 2 อาจยึดจำนวนในแต่ละ
Kanban เป็นหลัก
สำหรับผู้ที่สนใจบทความนี้
สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น