Series : Easy Production - Thailand 4.0
เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้นเพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ
รอบตัวเราแบบเข้าใจได้ง่ายๆ สำหรับผู้ที่อยากเรียนรู้โลกกว้าง
สอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน
มาถ่ายทอดโดยใช้การเล่าเรื่อง ภาษาที่ใช้ก็อาจจะบ้านๆ หน่อย
เพื่อเข้าใจได้ง่าย
เนื้อหาจะแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้
อยากรู้ : ผลิตอาหารสัตว์ ทำยังไง? (2)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว กล่าวถึงกระบวนการในการผลิตอาหารสัตว์
ต้องประกอบด้วยสูตรการผลิต ที่บอกว่าใช้วัตถุดิบอะไร เป็นจำนวนเท่าไหร่ และผ่านขั้นตอนที่ใช้เครื่องจักรต่างๆ
สำหรับบทความนี้ จะเล่าวิธีที่บริษัทส่วนใหญ่วางแผนและผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ดีที่สุด
เริ่มตั้งแต่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply
chain) คำว่าอุปทาน
ถ้าฟังครั้งแรก อาจจะคิดถึง อุปทานหมู่ ที่หมายถึงการเกิดจิตคิดไปเอง ที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ แต่ความหมายที่ใช้ในบทความนี้ไม่ใช่อย่างนั้น แต่หมายถึง
การจัดการของวัตถุดิบและสินค้า
ให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ
คำศัพท์ที่น่าสนใจต่อมา คือ ต้นน้ำ (Upstream) หมายถึงผู้จัดหาวัตถุดิบ
(Vendor) ส่วนปลายน้ำ (Downstream) หมายถึงผู้รับปลายทาง เช่น รับจากกระบวนการผลิต (Production) ไปจนถึงการขาย
(Sales)
ขั้นแรกของการวางแผนบนระบบ Supply chain เริ่มต้นที่ปลายน้ำ
โดยนำความต้องการสินค้า (Demand)
ที่เกิดจากการพยากรณ์ (Forecast)
ระยะกลางหรือระยะยาว
มาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยปกติจะมีศูนย์กระจายสินค้า
(Distribution center) หลายแห่งเป็นตัวรับค่าความต้องการสินค้าจากลูกค้า
ดังนั้นหลักการ คือ สินค้าต้องส่งออกจากศูนย์กระจายสินค้า ไปสู่มือผู้รับสินค้าด้วยโดยพิจารณาปัจจัยหลัก
คือ ค่าขนส่งต่ำสุด (Transportation cost) ครบจำนวนที่ต้องการ
(Delivered complete) และต้องไม่เกิดการล่าช้า
(Non-Delay) สำหรับเครื่องมือที่ใช้เลือกตำแหน่งศูนย์กระจายสินค้า
จะเป็นซอพแวร์ที่เกี่ยวกับการทำ Optimization วัตถุประสงค์ทำให้มีต้นทุนต่ำสุด และสามารถใช้ฐานข้อมูลเบื้องต้นจากระบบ
ERP (ระบบบัญชี และลอจิสติกส์) ได้ แต่ถ้าไม่ต้องการลงทุนมาก อาจเลือกใช้ Solver ของ
Excel และเขียน model เอง (ป้จจุบัน solver รองรับตัวแปรได้ไม่เกิน
200 ตัวแปร และ constraint ไม่เกิน
100 บรรทัด)
เมื่อทราบแล้วว่าจะต้องส่งออกจากศูนย์กระจายสินค้าใด
การจัดการถัดมาคือ สินค้าในศูนย์กระจายสินค้านั้น จะส่งมาจากโรงงานใด (Plant) จุดนี้เป็นจุดที่ 2
ที่อาจพิจารณาปัจจัยของกำลังการผลิต
(Production capacity) ของแต่ละโรงงาน เพิ่มเติมจากปัจจัยต้นทุนการขนส่ง
ผลลัพธ์คือ สามารถระบุโรงงาน ที่พร้อมจะส่งสินค้าให้กับศูนย์กระจายสินค้า ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุดและตรงเวลา
เครื่องมือหรือซอพแวร์ที่ช่วยในการวางแผน จะเป็นชุดเดียวกับที่ใช้ก่อนหน้า
จุดที่ 3 คือการพิจารณาแหล่งของวัตถุดิบ ที่จะป้อนให้กับโรงงาน
โดยคำนึงถึงต้นทุนของวัตถุดิบและค่าขนส่ง รวมถึงประวัติของผู้ค้า
สำหรับวัตถุดิบหลักของอาหารสัตว์ เช่น กากถั่ว ที่ต้องใช้ในปริมาณมาก
เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ
ฝ่ายจัดซื้อ
จะทำสัญญาซื้อล่วงหน้า เพื่อให้ได้ราคาที่ดี และขนส่งผ่านเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ วัตถุดิบอื่นๆ เช่น ข้าวโพด มันเส้น หรือรำข้าว
สามารถหาจากภายในประเทศได้ โดยประกาศราคาซื้อล่วงหน้าจากเกษตรกรตามคุณสมบัติ เช่น
ความชื้น เป็นต้น
จุดสำคัญของการลดต้นทุน เกิดจากจุดที่
3 โดยแต่ละบริษัท
ต้องหาวิธีที่จะทำอย่างไร จึงจะควบคุมราคาและจำนวนวัตถุดิบที่ต้องใช้
ให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ได้อาหารตามความต้องการ บางโรงงานอาจมีการปรับสูตรอาหารบ้างเล็กน้อย
แต่ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน โดยใช้ซอพแวร์ที่มีลักษณะพิเศษ แต่ถ้างบน้อย เครื่องมือที่หาได้ง่าย สำหรับการทดสอบสูตรอาหาร
ยังเป็น Excel solver ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
แต่ต้องเข้าใจการสร้างโมเดล
ทุกๆ จุดที่กล่าวถึง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ล้วนเกี่ยวพันกับการวางแผนทั้งสิ้น ถ้าวางแผนได้สอดคล้องกัน หมายถึงได้ต้นทุนที่เหมาะสม
สรุปคือ การบริหารต้นทุน
เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ส่วนของ Supply
chain และมีซอพท์แวร์ที่นำมาช่วยบริหารการวางแผนที่มีลักษณะ
Optimization
เพื่อใช้ข้อมูลที่มีอยู่ ได้อย่างเหมาะสม
มีให้เลือกตั้งแต่ราคาสูงที่สามารถเชื่อมตรงกับระบบ ERP จนถึงซอพท์แวร์ที่ทุกบริษัทมีอยู่แล้ว คือ Microsoft Excel มีเครื่องมือชื่อว่า Solver ใช้คำนวณแบบ
Simplex, Non-linear หรือแม้กระทั่ง Evolutionary โดยอาศัยทักษะในการสร้างโมเดลการคำนวณ
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สำหรับบทความถัดไป
ผมจะแสดงตัวอย่าง การวางโมเดลแบบง่ายๆ โดยใช้ Excel เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนสูตรการผลิตตามเงื่อนไข
ผู้ที่สนใจรอติดตามได้ครับ
สำหรับผู้ที่สนใจบทความนี้
สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
https://consultchorn.blogspot.com/
https://consultchorn.blogspot.com/
ผมจะนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าในแต่ละอุตสาหกรรม ที่ได้ไปออกแบบระบบจัดการข้อมูลการผลิต มาแบ่งปันให้ท่านที่สนใจ ได้ศึกษาและนำไปประกอบการทำงานในอนาคตครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น