วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

อยากรู้ : Reorder Point คืออะไร

อยากรู้ :  Reorder Point  คืออะไร
Series : Easy Production - Thailand 4.0

เกริ่นนำ : บทความเหล่านี้เขียนขึ้นเพื่อเล่าเรื่องการผลิตในอุตสาหกรรม โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เขียน เนื้อหาแบ่งเป็นหลายตอน ผู้อ่านสามารถเลือกเฉพาะบทความที่สนใจได้

        จากการที่ได้พูดคุยกับฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายดูแลคลังสินค้า มักจะพบคำถามที่ว่า พนักงานไม่สามารถดูแลวัสดุทุกชิ้นได้อย่างทั่วถึง ทำให้อาจเกิดปัญหาในเรื่องการบริหารวัสดุไม่พอดีกับการใช้งาน ฝ่ายจัดซื้อ ซื้อทีละมากๆ ก็กลัวเหลือค้างในคลัง หรือถ้าซื้อน้อย ก็เกรงว่าจะไม่พอใช้งาน

         ในบทความนี้ ขอเสนอวิธีการบริหารวัสดุให้มีความพอดี และลดเวลาการดูแลวัสดุแต่ละตัว โดยใช้กลไกการตรวจสอบข้อมูล ผ่านพารามิเตอร์ที่เรียกว่า Reorder Point
            
Reorder point คือ จุดสั่งซื้อ โดยเมื่อผู้ใช้งานสั่งระบบทำงาน โปรแกรมจะตรวจสอบว่า stock ของวัสดุ เทียบกับ Reorder Point ของวัสดุ ที่มีการกำหนดไว้

         ถ้า Stock >= Reorder Point  ก็ยังไม่ต้องสั่งซื้อใดๆ
         ถ้า Stock < Reorder Point ระบบจะทำการสร้างแผนสั่งซื้อ โดยคำนวณวันที่เริ่มต้นออกแผนสั่งซื้อ และคำนวณวันที่ได้รับจากการสั่งซื้อ

         ที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า การสร้างแผนสั่งซื้อ โดยวิธีการ Reorder Point นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร  แต่สิ่งที่ยากคือ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าวัสดุแต่ละตัว ควรมี Reorder Point ที่จำนวนเท่าใด

เรามาดูว่า มีหนทางอะไรบ้าง ที่จะได้มาซึ่ง Reorder Point 

#ทางแรก อาศัยประสบการณ์ของผู้สั่งซื้อ โดยประมาณคร่าวๆ ว่า แต่ละวัสดุควรจะมีจุดสั่งซื้อ อยู่ที่เท่าใด เพื่อไม่ให้ขาดเมื่อต้องการใช้ ทางนี้ เป็นทางที่ง่ายสุด แต่เสี่ยงสุด  เพราะถ้าจุดสั่งซื้ออยู่ต่ำ มีโอกาสที่วัสดุไม่พอใช้  แต่ถ้าจุดสั่งซื้ออยู่สูง และไม่มีการใช้ วัสดุต่างๆ ก็อาจจะค้างอยู่และกลายเป็น Dead stock ได้

#ทางที่สอง เป็นทางที่มีหลักการ มีสูตรคำนวณรองรับ แต่ว่าต้องมีข้อมูลการใช้ใน
    อดีต มาดูสูตรว่ามีหน้าตาอย่างไร
  
ขั้นแรก ต้องหาค่า Safety Stock (SS) โดยคำนวณจาก

    SS = Service level factor * MAD *RLT
  
           มีที่มาดังนี้
-       RLT ย่อมาจาก replenishment lead time หมายถึงเวลาในการจัดหาตามข้อตกลงกับ Vendor ที่ติดต่อด้วย
-       Service level factor คือ ระดับความพึงพอใจที่ต้องการ
-       MAD  ย่อมาจาก  Mean absolute deviation โดยใช้ข้อมูลการใช้งานในอดีตมาคำนวณค่าพยากรณ์การใช้ในอนาคต และหาค่าสถิติ MAD ออกมา

ขั้นที่สอง คือการคำนวณค่า reorder point (RP)

        RP = SS + average daily requirement * RLT

             มีที่มาดังนี้
-       RP คือ Reorder Point คือจุดสั่งซื้อที่ต้องการคำนวณ
-       RLT ย่อมาจาก replenishment lead time หมายถึงเวลาในการจัดหาตามข้อตกลงกับ Vendor ที่ติดต่อด้วย
-       Average daily requirement คือค่าเฉลี่ยการใช้ต่อวันในอนาคต
-       SS คือ Safety stock ที่คำนวณได้จากขั้นตอนแรก

#ทางที่สาม มีสูตรรองรับเช่นกัน คล้ายๆ กับทางที่สอง
             
                RP = (AVG Consumption 12 month latest * RLT / 30)  
                    + (1.64 * Standard deviation last 12 month of consumption
                         * square root of ( RLT / 30 ))
           
             มีที่มาดังนี้
-       RP คือ Reorder Point คือจุดสั่งซื้อที่ต้องการคำนวณ
-       AVG Consumption 12 month latest  หมายถึง ค่าเฉลี่ยการใช้รายเดือนของวัตถุดิบ โดยใช้ข้อมูล 12 เดือนย้อนหลัง
-       RLT มาจาก Replenishment Leadtime หมายถึง จำนวนวันในการจัดส่งวัตถุดิบ
-       Standard deviation of consumption (last 12 month) คือส่วนเบี่ยงเบนของการใช้ในอดีต

 -----------------------------------------------------------------------------------------------
        จากทางเลือกที่มีให้ ผู้วางแผนคงต้องตัดสินใจเอง ว่าจะเลือกเส้นทางใด เพื่อให้มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับกิจการนั้นๆ
    
สำหรับผู้ที่สนใจบทความนี้ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn

https://consultchorn.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น