วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

องค์ประกอบวัตถุดิบในอาหาร ตามโภชนาการที่กำหนด คำนวณอย่างไร

องค์ประกอบวัตถุดิบในอาหาร ตามโภชนาการที่กำหนด คำนวณอย่างไร
Series : Easy Production - Thailand 4.0

บทความนี้ กล่าวถึงการคำนวณส่วนผสมของวัตถุดิบในอาหาร
โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ต้องได้คุณค่าทางโภชนาการ ตามข้อกำหนดที่ต้องการ
โดยมีต้นทุนรวมของวัตถุดิบต่ำสุด
จากนั้นทดสอบเพิ่มเป้าหมายรองลงมา ตามความต้องการ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบจำลองส่วนผสมของอาหารประเภท Granola ประกอบด้วยส่วนผสมของ ข้าวโอ๊ต คอนเฟลก ลูกเกด อัลมอนด์ มะพร้าว
- เป้าหมายหลัก ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการ
- เป้าหมายรอง คือ จำนวนของส่วนผสมวัตถุดิบ
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รายละเอียดการจำลองแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
- ขั้นตอนที่ 1  ให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ ไม่น้อยกว่าที่ต้องการ
- ขั้นตอนที่ 2  กำหนดค่ามากสุดของคุณค่าทางโภชนาการ ตามความจำเป็น
- ขั้นตอนที่ 3  เพิ่มขอบเขตล่าง สำหรับน้ำหนักของแต่ละวัตถุดิบ
- ขั้นตอนที่ 4 เพิ่มขอบเขตบน สำหรับน้ำหนักของแต่ละวัตถุิบ
ทั้งนี้ในการคำนวณแต่ละขั้นตอน ยังคงมีจุดประสงค์ ที่ต้องการให้ได้ต้นทุนต่ำสุด

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ อาจเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ประกอบการพิจารณาต่อไป หวังว่าคงได้ประโยชน์บ้าง
สำหรับผู้ที่สนใจบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต


วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

Optimum lot size

ซื้อจำนวนเท่าไร ถึงจะลดต้นทุนได้มากที่สุด
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในบทความนี้ กล่าวถึงวิธีการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยสุด
เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายจัดซื้อ และบุคคลทั่วไปที่สนใจวิธีควบคุมต้นทุนการสั่งซื้อ ได้นำไปประยุกต์ใช้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในระบบ supply chain นั้น กรณีของการผลิตสินค้าที่เหมือนกัน ปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก
การตั้งราคาขายไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ
ดังนั้นการควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ จึงอาจเป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้บริษัท มีผลกำไรที่แตกต่างจากผู้อื่นได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ จึงตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดซื้อที่จะต้องทำการต่อรองกับ supplier หรือ vendor เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
คำว่าราคาดีที่สุด ไม่ได้หมายถึงราคาถูกที่สุด แต่เป็นความหมายรวมถึง คุณภาพ ความรวดเร็วในการส่งมอบจำนวนที่มีให้ เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับในบทความนี้ เป็นการนำตัวอย่างวิธีการพิจารณาขนาด lot size ในการสั่งซื้อในแต่ละรอบ
โดยมีองค์ประกอบในการพิจารณาดังต่อไปนี้
- ประมาณการจำนวนวัตถุดิบที่ต้องการต่อปี
   ส่วนนี้ อาจได้มาจากการ run MRP และได้ตัวเลขประมาณการความต้องการทั้่งปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
   Demand ของวัตถุดิบ
- ค่าใช้จ่ายในการจัดการสั่งซื้อแต่ละครั้ง โดยไม่เกี่ยวกับค่าวัตถุดิบ เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกเอกสาร
    และจัดส่ง PO เป็นต้น
   ค่าใช้จ่ายลักษณะนี้ เป็น fix cost ที่ต้องเสียไป ในการสั่งซื้อแต่ละรอบ
   มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Lot size independent cost
- ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ (Storage cost) คิดเป็น % ของราคาของวัตถุดิบ
- ราคาวัตถุดิบ (Pricing condition) โดยอาจมีเงื่อนไขพิเศษ ที่เรียกว่า Pricing scale หมายถึง ซื้อยิ่งมาก
   ยิ่งมีส่วนลดมาก

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อได้พารามิเตอร์ในการพิจารณาครบถ้วนแล้ว เราก็นำข้อมูลเหล่านั้นไปคำนวณหาขนาดของการสั่งซื้อ ในแต่ละครั้ง เพื่อให้ผลรวมของค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

โดยค่าใช้จ่ายรวม = ค่าจัดการการสั่งซื้อ + ค่าจัดเก็บตลอดทั้งปี + ค่าวัตถุดิบ
สำหรับการคำนวณ จะแสดงใช้ Micorsoft Excel ที่เป็น tool ที่มีใช้อยู่ทั่วไป 
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจพอสมควร
สำหรับบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต



วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม (Beverage Industry)

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม  (Beverage Industry)
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในบทความนี้ กล่าวถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้สนใจได้เพลิดเพลินกับคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้เฉพาะในอุตสาหกรรมนี้
และอาจเป็นประโยชน์บ้าง สำหรับผู้ที่เพิ่งจบการศีกษา และสนใจงานในอุตสาหกรรมนี้
โดยเฉพาะการทำงานในฝ่ายผลิต จะได้เข้าใจการทำงานแบบคร่าวๆ ได้ก่อนที่จะเข้าไปทำงานจริง

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องดื่ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
- สินค้าเป็นขวด (Bottle) ไม่ว่าจะเป็นขวดเล็ก ขวดใหญ่  และใช้ฝาเกลียว
- สินค้าเป็นกระป๋องโลหะ (Can) เป็นสินค้าที่ดูพรีเมี่ยม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในกระบวนการผลิตอาจใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่จะมีส่วนที่ใช้เหมือนกัน คือ น้ำตาล ที่ต้องมีในทุกสูตรการผลิต คนไทยติดหวาน กินแล้วชื่นใจ
แต่แนวโน้มของโลกในอนาคต คือ ต้องการให้ลดความหวานลงไป โดยเมื่อพยายามลดแล้ว รสชาติต้องไม่ต่างจากเดิมมาก ทั้งนี้รัฐบาลมีการเก็บภาษีในส่วนความหวาานแยกออกมาต่างหาก
ส่วนผสมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน เช่น สี รส กลิ่น เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เริ่มที่กระบวนการวางแผน คือการนำข้อมูลการพยากรณ์การขายที่ได้จากฝ่ายขาย  มาใช้เป็นต้นทางในการพิจารณาแผนการผลิตในอนาคต
โดยอาจใช้รูปแบบ SOP (Sales and Operation Planning) มาร่วมพิจารณา
โดยมีปัจจัยที่ควรพิจารณาในแต่ละช่วงเวลา คือ
- การทำโปรโมชั่นในฤดูกาลต่างๆ
- กำลังการผลิตของเครื่องจักรภายในโรงงาน
- การตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าให้ครบ เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสทางการค้า
- พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ถ้าไม่พอ ก็ต้องติดต่อหาเช่าโกดัง เพื่อการจัดเก็บในแต่ละช่วงเวลา
- Budget ที่ต้องเตรียมไว้เพื่อการซื้อวัตถุดิบ ถ้าจำเป็นต้องกู้ ก็ต้องพิจารณาดอกเบี้ยเพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอ

เมื่อได้แผนการผลิตที่ได้ยอมรับจากที่ประชุม (Concensus meeting) แล้ว ก็นำไปใช้ในการวางแผนผลิตจริงต่อไป
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนถัดมาคือ เปลี่ยนแผนผลิตให้เป็นใบสั่งผลิต เพื่อกระจายให้แต่หน่วยงานผลิต ได้ดำเนินการ โดยในแต่ละใบสั่งผลิต จะมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้
- สินค้าที่จะทำการผลิต จำนวนที่ต้องการผลิต วันที่เริ่มผลิต วันที่เสร็จสิ้นการผลิต
- วัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิต  จำนวนที่ต้องการใช้ วันที่ต้องการใช้
- ขั้นตอนการทำงาน ต้องผ่านเครื่องจักรอะไรบ้าง ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับการบันทึกผลการผลิต ในฟีเจอร์มาตรฐาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก
- บันทีกการตัดจ่ายวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ เรียกกระบวนการนี้ว่า Goods Issue
- บันทึกของดี (Yield) และของเสีย (Scrap) จากการผลิต รวมถึงบันทึกเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
- บันทึกการรับสินค้า เพื่อเป็น stock เก็บเข้าคลัง

ในบางกรณี อาจมีการนำระบบ Automation มาช่วย เพื่อลดขั้นตอนการบันทึก เช่น
- การทำ Backflush หมายถึงเมื่อทำการบันทึก Yield ที่ผลิตได้  แล้วให้ซอพแวร์ทำการคำนวณวัตถุดิบและตัดใช้จากคลังทันที
- การทำ Auto GR  หมายถึง เมื่อทำการบันทึก Yield ที่ผลิตได้ แล้วให้ซอพแวร์ทำการคำนวณและรับผลผลิตที่ได้เข้าคลังทันที
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โดยปกติ ในกระบวนการผลิตอาจมีของเสีย ของไม่ได้คุณภาพ หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการพิเศษขึ้นมารองรับ ดังต่อไปนี้
- กระบวนการ Repack หมายถึง การนำสินค้าเดิม มาทำการ pack ใหม่ โดยตัวเนื้อสินค้าไม่ได้เสียหายแต่อย่างใด แต่กล่องอาจมีการแตก บุบ จึงต้องนำมา repack ใหม่ กระบวนการนี้ จะใช้กับส่วนที่ไม่ได้สัมผัสกับเนื้อสินค้าโดยตรง
- กระบวนการ Reprocess หมายถึง การนำสินค้าเดิม มาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้าใหม่ เช่น นำเนื้อของสินค้า มาผลิตใหม่ กระบวนการนี้ จะใช้กับส่วนที่สัมผัสกับเนื้อสินค้า
- กระบวนการ Unpack หมายถึงการนำสินค้าเดิม มาแกะออก และแปรสภาพกลับไปเป็นองค์ประกอบก่อนหน้า ซึ่งอาจกลับไปเป็นวัตถุดิบหรือ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ
สำหรับผู้ที่สนใจบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn

Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต


วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

การจัดตารางทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

การวางแผนให้มีบุคคลากรทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในภาวะที่ไวรัสโควิด กำลังระบาด กลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์อาจจำเป็นต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
แต่ว่าถ้ามีการบริหารจำนวนบุคคลการให้พอเหมาะ ก็สามารถที่จะสลับกันเพื่อให้มีเวลาพักผ่อน เพื่อให้ได้ฟื้นฟูร่างกาย
และสามารถทำงานต่อในวันถัดไปได้

ในบทความนี้ ได้นำเอาเทคนิคการจัดตารางทำงานแบบ 24 ชั่วโมง โดยใช้ tools ที่มีใช้โดยทั่วไป
โดยมีการกำหนดล่วงหน้าไว้ก่อนว่า ใน 1 วันทำการนั้น แต่ละช่วงเวลาต้องการบุคคลากร ในการรับมือกี่คน และให้ระบบคำนวณว่า
จะต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าทำงานในแต่ละช่วงเวลาเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อประหยัดจำนวนเจ้าหน้าที่ให้ได้มากที่สุด
โดยที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนที่ทำงาน จะทำงานต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง และได้กลับไปพักผ่อน เพื่อเข้างานใหม่ในวันถัดไป

นอกจากนี้ ยังได้เปรียเทียบผลที่ได้จาก Microsoft excel  กับการใช้ software Python ที่เป็น open software โดยสามารถใช้ฟรี

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่ต้องการนำไปประยุกต์เพื่อใช้งานต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn

Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต


Staff Planning 7 day

การวางแผนจำนวนเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับการทำงานทุกวัน
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในภาวะที่ไวรัสโควิด กำลังระบาด กลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์อาจจำเป็นต้องทำงานต่อเนื่องทุกวัน โดยไม่มีวันหยุด
แต่ว่าถ้ามีการบริหารจำนวนบุคคลการให้พอเหมาะในแต่ละวัน ก็สามารถที่จะสลับกันเพื่อให้มีวันพักผ่อน เพื่อให้ได้ฟื้นฟูร่างกาย
เพื่อทำงานได้ต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสม

ในบทความนี้ ได้นำเอาเทคนิคการจัดตารางทำงาน 7 วัน โดยให้มีการพัก 2 วันในแต่ละคน โดยใช้ tools ที่มีใช้โดยทั่วไป
โดยมีการกำหนดล่วงหน้าไว้ก่อนว่า ในแต่ละวัน ต้องการบุคคลากร ในการรับมือกี่คน และให้ระบบคำนวณว่า จะต้องมีคนเข้าทำงานในแต่ละวันเป็นจำนวนเท่าใด
โดยที่แต่ละคนที่ทำงาน จะทำงานต่อเนื่อง 5 วัน และได้พักผ่อน 2 วัน

นอกจากนี้ ยังได้เปรียเทียบผลที่ได้จาก Microsoft excel  กับการใช้ software Python ที่เป็น open software โดยสามารถใช้ฟรี

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่ต้องการนำไปประยุกต์เพื่อใช้งานต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn

Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต


วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

อยากรู้ : การพยากรณ์ข้อมูล (Business Forecasting)

อยากรู้ :  การพยากรณ์ข้อมูล (Business Forecasting)
Series : Easy Production - Thailand 4.0

ในการวางแผนการทำกิจกรรมใดๆ หากผู้วางแผนสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ย่อมเป็น

ผลดีต่อองค์กรนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนยอดขาย (Demand Planning) หรือยอดผลิตปีหน้า (Supply Planning) เมื่อนำเข้าไปสู่ระบบ supply

chain จะมีผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เนื่องจากยอดพยากรณ์เหล่านี้ จะถูกนำไปคำนวณผ่านระบบ MRP หรือระบบ Optimization ต่างๆ

เพื่อหาค่าการผลิตที่เหมาะสมของแต่ละสายการผลิต รวมถึงวัตถุดิบที่ต้องการ

-------------------------------------------------------------------------------------------

ดังนั้นหากข้อมูลพยากรณ์ยอดขาย หรือ ยอดผลิต ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะมีผลอย่างมากต่อธุรกิจนั้นๆ
เช่น หากพยากรณ์ต่ำไป ก็จะทำให้สูญเสียโอกาสทางการขาย
      หรือหากพยากรณ์สูงไป ก็จะทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บสินค้าและวัตถุดิบที่ไม่จำเป็น

------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้พยากรณ์ (Demand Planner) ต้องเป็นผู้เลือกโมเดลในการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับแต่ละสินค้า โดยมีตัววัดที่เหมาะสม

----------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาในบทนี้ จะเน้นไปที่วัตถุประสงค์ของการเลือกโมเดลการพยากรณ์ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------

สำหรับในบทถัดๆ ไป จะเจาะลึกการทำงานแต่ละโมเดล

================================================

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่ต้องการนำไปใช้งานต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn
 Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต




วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

อยากรู้ : แนวคิดวิธีการลดฝุ่น PM2.5


อยากรู้ :  แนวคิดวิธีการลดฝุ่น PM2.5
Series :  Easy Production - Thailand 4.0
------------------------------------------------------------------
วันนี้ พื้นที่กรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง กำลังเผชิญปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เรียกว่า PM2.5 ซึ่งว่ากันว่าส่วนหนึ่งได้ล่องลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการแผ้วถางป่าและเผาเศษไม้ต่างๆ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศเราเอง และซ้ำเติมด้วยมลพิษจากรถยนต์ควันดำ
ดังนั้นอาจต้องยอมรับแล้วว่า สภาพเช่นนี้ คงเกิดขึ้นในอนาคตอีกแน่ๆ ผู้ที่รับผิดชอบคงหาวิธีในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้แล้ว
สำหรับบทความนี้ขอเสนอแนวคิดเสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งสมมุติให้ทางหน่วยงานมีเครื่องมือเรียกว่า "เครื่องดักฝุ่น" เป็นลักษณะที่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ ที่สภาพอากาศมีปัญหาได้
---------------------------------------------------------------------------         

ตัวอย่าง video ที่แสดงการทำงานเบื้องต้น อาจเป็นแนวทางช่วยค้นหา solution ได้บ้างครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับผู้ที่สนใจบทความ สามารถติดตามจาก

https://www.facebook.com/ConsultChorn

Youtube: คุยเฟื่อง เรื่องผลิต