Series : Easy Production - Thailand 4.0
ในบทความนี้ กล่าวถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้สนใจได้เพลิดเพลินกับคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้เฉพาะในอุตสาหกรรมนี้
และอาจเป็นประโยชน์บ้าง สำหรับผู้ที่เพิ่งจบการศีกษา และสนใจงานในอุตสาหกรรมนี้
โดยเฉพาะการทำงานในฝ่ายผลิต จะได้เข้าใจการทำงานแบบคร่าวๆ ได้ก่อนที่จะเข้าไปทำงานจริง
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องดื่ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
- สินค้าเป็นขวด (Bottle) ไม่ว่าจะเป็นขวดเล็ก ขวดใหญ่ และใช้ฝาเกลียว
- สินค้าเป็นกระป๋องโลหะ (Can) เป็นสินค้าที่ดูพรีเมี่ยม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในกระบวนการผลิตอาจใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่จะมีส่วนที่ใช้เหมือนกัน คือ น้ำตาล ที่ต้องมีในทุกสูตรการผลิต คนไทยติดหวาน กินแล้วชื่นใจ
แต่แนวโน้มของโลกในอนาคต คือ ต้องการให้ลดความหวานลงไป โดยเมื่อพยายามลดแล้ว รสชาติต้องไม่ต่างจากเดิมมาก ทั้งนี้รัฐบาลมีการเก็บภาษีในส่วนความหวาานแยกออกมาต่างหาก
ส่วนผสมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน เช่น สี รส กลิ่น เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เริ่มที่กระบวนการวางแผน คือการนำข้อมูลการพยากรณ์การขายที่ได้จากฝ่ายขาย มาใช้เป็นต้นทางในการพิจารณาแผนการผลิตในอนาคต
โดยอาจใช้รูปแบบ SOP (Sales and Operation Planning) มาร่วมพิจารณา
โดยมีปัจจัยที่ควรพิจารณาในแต่ละช่วงเวลา คือ
- การทำโปรโมชั่นในฤดูกาลต่างๆ
- กำลังการผลิตของเครื่องจักรภายในโรงงาน
- การตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าให้ครบ เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสทางการค้า
- พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ถ้าไม่พอ ก็ต้องติดต่อหาเช่าโกดัง เพื่อการจัดเก็บในแต่ละช่วงเวลา
- Budget ที่ต้องเตรียมไว้เพื่อการซื้อวัตถุดิบ ถ้าจำเป็นต้องกู้ ก็ต้องพิจารณาดอกเบี้ยเพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอ
เมื่อได้แผนการผลิตที่ได้ยอมรับจากที่ประชุม (Concensus meeting) แล้ว ก็นำไปใช้ในการวางแผนผลิตจริงต่อไป
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนถัดมาคือ เปลี่ยนแผนผลิตให้เป็นใบสั่งผลิต เพื่อกระจายให้แต่หน่วยงานผลิต ได้ดำเนินการ โดยในแต่ละใบสั่งผลิต จะมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้
- สินค้าที่จะทำการผลิต จำนวนที่ต้องการผลิต วันที่เริ่มผลิต วันที่เสร็จสิ้นการผลิต
- วัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิต จำนวนที่ต้องการใช้ วันที่ต้องการใช้
- ขั้นตอนการทำงาน ต้องผ่านเครื่องจักรอะไรบ้าง ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับการบันทึกผลการผลิต ในฟีเจอร์มาตรฐาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก
- บันทีกการตัดจ่ายวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ เรียกกระบวนการนี้ว่า Goods Issue
- บันทึกของดี (Yield) และของเสีย (Scrap) จากการผลิต รวมถึงบันทึกเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
- บันทึกการรับสินค้า เพื่อเป็น stock เก็บเข้าคลัง
ในบางกรณี อาจมีการนำระบบ Automation มาช่วย เพื่อลดขั้นตอนการบันทึก เช่น
- การทำ Backflush หมายถึงเมื่อทำการบันทึก Yield ที่ผลิตได้ แล้วให้ซอพแวร์ทำการคำนวณวัตถุดิบและตัดใช้จากคลังทันที
- การทำ Auto GR หมายถึง เมื่อทำการบันทึก Yield ที่ผลิตได้ แล้วให้ซอพแวร์ทำการคำนวณและรับผลผลิตที่ได้เข้าคลังทันที
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โดยปกติ ในกระบวนการผลิตอาจมีของเสีย ของไม่ได้คุณภาพ หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการพิเศษขึ้นมารองรับ ดังต่อไปนี้
- กระบวนการ Repack หมายถึง การนำสินค้าเดิม มาทำการ pack ใหม่ โดยตัวเนื้อสินค้าไม่ได้เสียหายแต่อย่างใด แต่กล่องอาจมีการแตก บุบ จึงต้องนำมา repack ใหม่ กระบวนการนี้ จะใช้กับส่วนที่ไม่ได้สัมผัสกับเนื้อสินค้าโดยตรง
- กระบวนการ Reprocess หมายถึง การนำสินค้าเดิม มาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้าใหม่ เช่น นำเนื้อของสินค้า มาผลิตใหม่ กระบวนการนี้ จะใช้กับส่วนที่สัมผัสกับเนื้อสินค้า
- กระบวนการ Unpack หมายถึงการนำสินค้าเดิม มาแกะออก และแปรสภาพกลับไปเป็นองค์ประกอบก่อนหน้า ซึ่งอาจกลับไปเป็นวัตถุดิบหรือ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เนื้อหาเบื้องต้นนี้ เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ
สำหรับผู้ที่สนใจบทความอื่นๆ สามารถติดตามจาก
https://www.facebook.com/ConsultChorn
Youtube : คุยเฟื่อง เรื่องผลิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น